ขอมีบัตรประจำตัวประชาชน

ขอมีบัตรกรณีขอมีบัตรเป็นครั้งแรก

ยื่นคำขอภายใน 60 วัน หากพ้นกำหนดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท (อายุ 15 ปีบริบูรณ์)

1. ยื่นคำขอมีบัตรตามแบบ บ.ป.1 พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2. แสดงหลักฐานสูติบัตร หรือหลักฐานที่ทางราชการออกให้หรือนำเข้าบ้าน หรือบุคคลที่พนักงานเจ้าหน้าที่เชื่อถือไปให้การ รับรองอย่างใดอย่างหนึ่ง

กรณีพนักงานเจ้าหน้าที่ร้องขอ ขอมีบัตรกรณีบัตรเดิมหมดอายุ

ยื่นคำขอภายใน 60 วัน หากพ้นกำหนดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท

1. ยื่นคำขอมีบัตรตามแบบ บ.ป.1พร้อมสำเนาทะเบียนบ้าน ฉบับเจ้าบ้าน
2. แสดงหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่หมดอายุขอมีบัตรกรณีได้รับการเพิ่มในทะเบียนบ้าน ยื่นคำขอภายใน 60 วัน
3. หากพ้นกำหนดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
– ยื่นคำขอมีบัตรตามแบบ บ.ป.1 พร้อมสำเนา ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
– แสดงหลักฐานที่ได้รับการเพิ่มชื่อ เช่น สูติบัตร
4. ให้ถ้อยคำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
5. นำเจ้าบ้านหรือบุคคลที่พนักงานเจ้าหน้าที่เชื่อถือไปให้การรับรองขอมีบัตรกรณีได้รับการยกเว้น (มีหลักฐานแสดงการได้รับการยกเว้น)
– ยื่นคำขอมีบัตรตามแบบ บ.ป.1 พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
– แสดงหลักฐานว่า เป็นบุคคลได้รับการยกเว้น

ขอมีบัตรกรณีได้รับการยกเว้น (ไม่มีหลักฐานแสดงการได้รับการยกเว้น)

1. ยื่นคำขอมีบัตรตามแบบ บ.ป.1 พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2. ให้ถ้อยคำต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่
3. นำเจ้าบ้านหรือบุคคลที่พนักงานแจ้าหน้าที่เชื่อถือไปให้การรับรอง

ขอมีบัตรกรณีพ้นสภาพได้รับการยกเว้น

ยื่นคำขอภายใน 60 วัน หากพ้นกำหนดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท

1. ยื่นคำขอมีบัตรตามแบบ บ.ป.1 พร้อมสำเนา ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2. แสดงหลักฐานที่แสดงว่าพ้นสภาพได้รับการยกเว้น ขอมีบัตรครั้งแรก กรณีแจ้งเกิดเกินกำหนดเวลา ยื่นคำขอภายใน 60 วัน หากพ้นกำหนดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
– ยื่นคำขอมีบัตรตามแบบ บ.ป.1 พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
– เปรียบเทียบคดีความผิด
3. ให้ถ้อยคำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
4. แสดงหลักฐานสูติบัตร หรือหลักฐานที่ทางราชการออกให้ (ถ้ามี)
5. กรณีที่ไม่มีหลักฐานตาม (4) ให้นำเจ้าบ้าน หรือบุคคลที่พนักงานเจ้าหน้าที่เชื่อถือไปให้การรับรองขอมีบัตร

กรณีได้สัญชาติไทย

ตามพระราชบัญญัติ สัญชาติ พ.ศ. 2508 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 โดยมีบิดามารดา คนใดคนหนึ่งเป็นคนต่างด้าว ยื่นคำขอภายใน 60 วัน หากพ้นกำหนดต้อระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
1. ยื่นคำขอมีบัตรตามแบบ บ.ป.1 พร้อมสำเนาทะเบีย่นบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2. ให้ถ้อยคำต่อ พนักงานแจ้าหน้าที่
3. นำเจ้าบ้านหรือบุคคลที่พนักงานเจ้าหน้าที่เชื่อถือไปให้การรับรอง

ขอมีบัตรกรณีได้สัญชาติไทยโดยมีบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว

ยื่นคำขอภายใน 60 วัน หากพ้นกำหนดต้องระวางโทษปรับ ไม่เกิน500 บาท

1. ยื่นคำขอมีบัตรตามแบบ บ.ป.1 พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านาฉบับเจ้าบ้าน
2. แสดงหลักฐานใบสำคัญประจำคนต่างด้าวของบิดาและมารดา
3. ให้ถ้อยคำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
4. นำบุคคลที่ พนักงานเจ้าหน้าที่เชื่อถือไปให้การรับรองกรณีไม่มีหลักฐานใบสำคัญคนต่างด้าวของบิดาและหรือมารดาหรือไม่ สะดวกที่ จะนำมาแสดง

ขอมีบัตรกรณีได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติเป็นไทยและผู้ได้กลับคืนสัญชาติไทย

ยื่นคำขอภายใน 60 วัน หากพ้น กำหนดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท

1. ยื่นคำขอมีบัตรตามแบบ บ.ป.1 พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2. แสดงหลักฐานหนังสือสำคัญการแปลงสัญชาติเป็นไทย หรือหนังสือสำคัญการได้กลับคืนสัญชาติไทย
3. ให้ถอนคำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

ขอมีบัตรใหม่กรณีบัตรหายหรือถูกทำลาย

ยื่นคำขอภายใน 60 วัน หากพ้นกำหนดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท

1. แจ้งความกรณีบัตรหายหรือถูกทำลาย ณ สำนักทะเบียน
2. ยื่นคำขอมีบัตรตามแบบ บ.ป.1 พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านและหลักฐานตาม (1)
3. ให้ถ้อยคำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
4. กรณีพนักงานเจ้าหน้าที่ ตรวจสอบหลักฐานการขอมีบัตรเดิมไม่พบ ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลที่พนักงานเจ้าหน้าที่เชื่อถือไปให้ การรับรอง
5. แสดงหลักฐานเอกสารที่ทางราชการออกให้อย่างใดอย่างหนึ่ง เพิ่มเติม เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ร้องขอ

ขอเปลี่ยนบัตรกรณีบัตรชำรุดในสาระสำคัญ

ยื่นคำขอภายใน 60 วัน หากพ้นกำหนดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20 บาท พิสูจน์ตัว บุคคลได้

1. ยื่นคำขอมีบัตรตามแบบ บ.ป.1 พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2. แสดงหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชนเดิม
3. ให้ถ้อยคำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
4. แสดงหลักฐานทางราชการที่มีรูปถ่าย ซึ่งสามารถ ใช้พิสูจน์ตัวบุคคลได้ (ถ้ามี)
5. หากไม่มีเอกสารตาม (4) ให้นำเจ้าบ้าน หรือบุคคลที่พนักงานเจ้าหน้าที่เชื่อถือไปให้การรับรอง

ขอเปลี่ยนบัตรกรณีเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุลหรือชื่อตัวและชื่อสกุล

ยื่นคำขอภายใน 60 วัน หากพ้นกำหนดต้องระวางโทษ ปรับไม่เกิน 200 บาท

1. ยื่นคำขอมีบัตรตามแบบ บ.ป.1 พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2. แสดงหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชน และหลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่สกุล หรือชื่อและชื่อสกุล

การขอตรวจหลักฐานหรือคัดสำเนารายการเกี่ยวกับบัตรที่ไม่เกี่ยวกับคดีความ

1. เจ้าของบัตรไปดำเนินการด้วยตนเองให้ยื่นคำร้องพร้อมทั้งระบุหมายเลขคำขอและหรือหมายเลขประจำตัวประชาชน
2. เจ้าของบัตรให้บุคคลอื่นไปดำเนินการแทน( สำเนาบัตรประจำตัวผู้มอบหมายและหรือผู้มอบดำเนินการแทน, หนังสือมอบอำนาจของเจ้าของบัตรหรือหนังสือขอตรวจหลักฐาน จากสำนักทะเบียน หรือสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านในกรณีเป็น ผู้ที่มีชื่อในบ้านเดียวกัน)

การตรวจสอบหลักฐานหรือคัดสำเนารายการเกี่ยวกับบัตรที่เกี่ยวกับคดีความ

1. กรณียังไม่ฟ้องเป็นคดีความ (หนังสือขอตรวจสอบหลักฐานหรือคัดสำเนาเกี่ยวกับบัตรของผู้เสียหายหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย , หนังสือมอบอำนาจหรือใบแต่งทนาย พร้อมด้วยหลักฐานประกอบ เช่น สำเนาตั่วสัญญาให้เงินที่ธนาคารปฎิเสธ การจ่ายเงินหรือ สำเนาหลักฐานการแจ้งความหรือหมายจับหรือสำเนาสัญญา เป็นต้น หากเป็น ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทให้แนบหลักฐานการจดทะเบียน หุ้นส่วนหรือบริษัทด้วย (สำเนาบัตรประตัวของผู้มอบอำนาจหรือผู้แต่งทนาย , สำเนาบัตรประจำตัวสมาชิกสภาทนายความ) สำหรับกรณีที่ผู้เสียหายไปดำเนินการด้วยตนเอง ให้แนบหลักฐาน ( สำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องเช่น สำเนาตั่วสัญญาให้เงินที่ธนาคารปฎิเสธ การจ่ายเงิน หรือสำเนาหลักฐาน การแจ้งความ หรือสำเนาหมายจับ หรือสำเนาสัญญาเป็นต้น )
2. กรณียื่นฟ้องเป็นคดีความแล้ว (หนังสือขอตรวจสอบหลักฐานหรือคัดสำเนารายการเกี่ยวกับบัตรจากผู้หาย หรือผู้มีส่วนได้เสีย , ใบแต่งทนาย ( ที่มีเลขคดีแล้ว ) หรือสำเนาคำฟ้อง ( ที่ศาลประทับฟ้องแล้ว ) , สำเนาบัตรประจำตัวสมาชิกสภาทนายความ

สำหรับในกรณีโจทก์หรือจำเลยไปดำเนินการด้วยตนเองให้แนบหลักฐาน

1) เอกสารที่เกี่ยวข้องกับคดีความ เช่น สำเนาฟ้องหรือสำเนาหมายจับ เป็นต้น
2) สำเนาบัตรประจำตัวของโจทก์

สำหรับกรณีผู้ยื่นคำร้องนำหมายจับไปดำเนินการ

1) ถ้ามีชื่อในหมายจับ ให้แนบสำเนาบัตรประจำตัวของผู้ยื่นคำร้อง
2) ถ้ากไม่มีชื่อในหมายจับให้แนบใบแต่งทนายหรือสำเนาคำฟ้อง หรือหนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวผู้ยื่นคำร้อง พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวผู้ยื่นคำร้องพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวโจทก์หรือผู้มอบอำนาจ อัตราค่าธรรมเนียม 20 บาท (ขอเปลี่ยนบัตรกรณีบัตรชำรุดในสาระสำคัญ , ขอมีบัตรใหม่กรณีบัตรหายหรือถูกทำลาย , ขอเปลี่ยนบัตรกรณีเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล หรือชื่อตัวและชื่อสกุล , ขอมีบัตรกรณีได้รับการยกเว้น)

อัตราค่าปรับตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน

ไม่เกิน 200 บาท กรณีไม่มาทำบัตรหรือต่อบัตรภายในระยะเวลาที่กำหนด

การนับอายุบัตร

บัตรมีอายุใช้ได้หกปีบริบูณ์นับแต่วันออกบัตรแล้วยังคงใช้ได้ต่อไปจนถึงวันครบรอบวันเกิดของผู้ถือบัตรนั้น